ช่องเขาขาด หรือ พิพิธภัณฑ์แห่งความทรงจำ จ.กาญจนบุรี

by - ตุลาคม 08, 2563

   ช่องเขาขาด จ.กาญจนบุรี สถานที่ท่องเที่ยวที่บอกเล่าเรื่องราวความโหดร้ายของสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่เกิดขึ้นระหว่างการสร้างทางรถไฟสายไทย - พม่า หรือที่รู้จักกันในชื่อ รถไฟสายมรณะ ซึ่งปัจจุบันถูกสร้างเป็นพิพิธภัณฑ์แห่งความทรงจำ ที่ได้รับการยกย่องว่าดีที่สุดจนติดอันดับหนึ่งของพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย และยังติดอันดับที่ 5 ของพิพิธภัณฑ์ในเอเชีย จากผลโหวตของนักท่องเที่ยวจากทั่วโลก จึงทำให้เห็นชาวต่างชาติมาเที่ยวชมและไว้อาลัยมากกว่าชาวไทย นอกจากนี่ช่องเขาขาดยังตั้งอยู่ตรงระหว่างกลางสถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียง คือ อุทยานแห่งชาติไทรโยคกับน้ำตกไทรโยคน้อย จึงทำให้นักท่องเที่ยวที่มีเวลาเยอะนิยมเวาะชมก่อนไปเที่ยวพักผ่อนที่น้ำตก

ภาพจาก CR : FB Janniefour Ch

   ช่องเขาขาด ตั้งอยู่บริเวณกองการเกษตรและสหกรณ์ กองกำลังทหารพัฒนา อ.ไทรโยค เป็นสถานที่ที่มีร่องรอยประวัติศาสตร์ความโหดร้ายของสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่ถูกสร้างเป็นพิพิธภัณฑ์แห่งความทรงจำ จากการร่วมกันระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลออสเตรเลีย เพื่อรำลึกถึงคนที่เสียชีวิตตามเส้นทางรถไฟสายไทย - พม่า หรือที่รู้จักกันในชื่อ รถไฟสายมรณะ โดยเปิดให้เข้าชมเมื่อ 25 เมษายน พ.ศ. 2542 และถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ

- ส่วนภายในพิพิธภัณฑ์ เป็นอาคารขนาดใหญ่ติดแอร์ทั้งชั้น เป็นที่จัดแสดงประวัติความเป็นมาของช่องเขาขาดและเรี่องราวความโหดร้ายของสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่เกิดขึ้นตอนการสร้างทางรถไฟสายไทย-พม่า ผ่านทางภาพถ่ายจริงที่มีคำบรรยายประวัติความเป็นมา, ข้าวของเครื่องใช้ของเฉลยศึก, อุปกรณ์ในการสร้างทางด้วยมือ เช่น ค้อน พลั่ว สิ่ว, หุ่นจำลองเชลยศึกที่ร่างกายผอม ไร้เรี่ยวแรง ใส่เพียงผ้าเตี่ยวพันแทนกางเกง ในขณะทำงาน, ตัวอย่างข้าวกองเล็กที่เชลยศึกได้รับต่อวัน, และมินิเธียเตอร์ฉายภาพยนตร์แบบขาว-ดำ ที่ถ่ายจากเหตุการณ์จริง อื่นๆ

ภาพจาก CR : FB Janniefour Ch

- ส่วนด้านหลังในพิพิธภัณฑ์ มีบันไดเดินไปลงยังเส้นทางธรรมชาติที่พาไปช่องเขาขาด ที่เป็นสถานที่จริงของเส้นทางรถไฟสายไทย - พม่า โดยมีเส้นทางให้เลือกเดิน 2 ทาง 

   1. จากพิพิธภัณฑ์ - อนุสรณ์สถานช่องเขาขาด เส้นทางนี้เป็นที่นิยมของนักท่องเที่ยว เนื่องจากเป็นเส้นทางเดินเท้าที่ไม่ลำบากมาก และระยะไม่ไกลมาก โดยมีเส้นทางเดินด้านล่างไปตามช่องเขาที่เป็นแนวรางรถไฟ ระยะทาง 4 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินไปกลับ 40-50 นาที ตามเส้นทางจะร่มรื่นด้วยธรรมชาติบนผาหินสองข้างทาง บนทางเดินจะมีป้ายให้ความรู้ ร่องรอยของรางรถไฟและการระเบิดหินขณะก่อสร้างให้เห็นเป็นระยะ เมื่อเดินมาถึงสุดปลายช่องเขาขาดที่มีแท่นสลักหินที่เป็นอนุสาวรีย์แห่งความทรงจำ นักท่องเที่ยวส่วนมากที่เดินมาถึงบริเวณนี้ก็จะเดินกลับ เนื่องจากเส้นทางที่เดินต่อไปยังสถานีหินตก มีความลำบากค่อยข้างอันตรายมีหุบเหว และใช้เวลาไปกลับประมาณ 3-4 ชม หากนักท่องเที่ยวต้องการเดินต่อ เจ้าหน้าจะมอบวิทยุสื่อสารให้พกติดตัว เพื่อเช็คความปลอดภัยจนกระทั้งเรากลับ และหากมาเป็นกลุ่มก็สามารถติดต่อเจ้าหน้าที่ให้นำทางได้ แต่นักเที่ยวท่องที่เดินต่อส่วนมากจะเดินไปถึงเพียงแค่จุดชมวิวหุบเขาแควน้อยที่อยู่ห่างจากสุดปลายช่องเขาขาดไม่ไกลมากเท่านั่น 

ภาพจาก CR : FB เชาว์วรรธน์ คำแสน

   2.จากพิพิธภัณฑ์ - ถนนหินตก เส้นทางนี้ค่อยข้างลำบาก มีความอันตรายและไกล ทำให้เจ้าหน้าที่บังคับให้นักท่องเที่ยวที่ใช้เส้นทางนี้ต้องนำวิทยุสื่อสารที่เจ้าหน้าที่มอบให้พกติดตัวไปด้วย เพื่อเช็คความปลอดภัยหรือขอความช่วยเหลือ โดยมีเส้นทางเดินขึ้นบนเขาที่เป็นเส้นทางเดียวกับเชลยศึกที่ใช้เดินไปทำงาน ใช้เวลาเดินไปกลับประมาณ 3-4 ชั่วโมง ตามเส้นทางเป็นป่าไผ่เขียวขจี และเมื่อมองลงมาด้านล่างจะเห็นร่องรอยของทางรถไฟที่ถูกขนาบด้วยผาหินสูงจากการขุดเจาะภูเขาจนเป็นร่องลึก

ภาพจาก CR : FB Lek Lek Kelsch

   ประวัติแบบย่อ

   ช่องเขาขาด หรือ ช่องไฟนรก (Hellfire Pass) ตอนสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นสถานที่ที่ครั่งหนึ่งญี่ปุ่นต้องการสร้างเส้นทางรถไฟยาว 415 กิโลเมตร เพื่อใช้ลำเลียงทหารและขนส่งเสบียงจากประเทศไทยไปยังประเทศพม่า โดยใช้เชลยศึกชาวออสเตรเลีย และเชลยศึกฝ่ายพันธมิตรในการก่อสร้างผ่านป่าดงดิบที่มีภูเขาขว้างทางอยู่ จึงต้องขุดเป็นช่องที่มีความยาว 110 เมตร สูงชัน 17 เมตร เพื่อให้รถไฟวิ่งผ่านไปได้ โดยใช้เวลาก่อสร้าง 3 เดือน จึงทำให้เชลยศึกถูกบังคับทุบตีให้ทำงานหนักถึง 18 ชั่วโมงต่อวัน โดยใช้เครื่องมือทุ่นแรงเพียงแค่ ค้อน พลั่ว สิ่ว สว่าน จอบ ค้อน บุ้งกี๋ และตอนกลางคืนต้องทำงานด้วยการจุดคบไฟและก่อกองไฟ จึงทำให้มองเห็นเงาของเชลยศึกที่ผอมแห้งสะท้อนบนผนังท่ามกลางเปลวไฟราวกับนรก (เป็นที่มาของอีกชื่อคือ Hellfire Pass หรือ ช่องไฟนรก) โดยเชลยศึกจะได้รับอาหาร 2 มื้อ เป็นเพียงแค่ข้าวกองเล็กๆ กับผักดองและปลาแห้งประทังชีวิต จึงทำให้มีเชลยศึกตกอยู่ในภาวะขาดน้ำขาดอาหารร่ายกายทรุดโทรม อีกทั้งยังมีโรคภัยไข้เจ็บโดยเฉพาะไข้ป่าที่ระบาดอีก ทำให้มีเชลยศึกต้องล้มตายจำนวนมาก และหลังจากที่ญี่ปุ่นแพ้สงคราม เชลยศึกที่ยังมีชีวิตได้รับการบำบัดทางด้านสุขภาพและจิดใจจากกองทัพฝ่ายสัมพันธมิตร แต่ก็ไม่สามารถกลับสู่สภาพเดิมได้โดยเฉพาะทางด้านจิตใจ ส่วนเชลยศึกที่เสียชีวิตได้ถูกย้ายไปฝั่งที่สุสานสำหรับฝังศพทหารในพม่าและใน จ.กาญจนบุรี

ภาพจาก CR : FB วิภาดา จันทรานุวงศ์

แนะนำ

- วันที่ 25 เมษายน ของทุกปี จะประกอบพิธีกรรมเพื่อรำลึกถึงผู้เสียชีวิต โดยช่วงเช้าจะไว้อาลัยด้วยการโคมไฟไม้ไผ่ที่มีเทียนไขอยู่ด้านในเสมือนกับที่บรรดาเชลยเคยใช้ และตอนสายจะทำพิธีวางหรีดที่สุสานทหารสัมพันธมิตร ดอนรัก ในตัวเมืองกาญจนบุรี โดยนักท่องเที่ยวที่มาส่วนมากจะเป็นชาวต่างชาติ ที่คาดว่าจะเป็นญาติของผู้เสียชีวิตและอดีตเชลยศึกผู้รอดชีวิต

- นักท่องเที่ยวที่ต้องการเดินชมช่องเขาขาด ควรมีร่ายกายที่แข็งแรงพร้อมจะเดินทางไกล สวมรองเท้าผ้าใบ เสื้อผ้าที่ใส่แล้วคล่องตัวเพื่อสะดวกต่อการเดินบันไดหินขึ้นๆลงๆ เตรียมงเครื่องดื่มไปพร้อมเนื่องจากตลอดเส้นทางไม่มีร้านค้า และควรมาไม่เกินบ่าย 3 โมง เพื่อให้มีเวลาเดินไปกลับก่อนพระอาทิตย์ตก (ถ้าเดินไปกว่าช่องเขาขาดยิ่งจำเป็น)

- จากพิพิธภัณฑ์ฯ จะปิดตอน 16.00 น. แต่นักท่องเที่ยวยังสามารถเดินชมช่องเขาขาด แต่ก็ไม่ควรกลับหลังพระอาทิตย์ตก

- นักท่องเที่ยวสามารถรับหูฟังเพื่อฟังคำบรรยาย และวิทยุสื่อสารสำหรับการเดินทางไกล ได้ฟรี โดยมีค่ามัดจำ 200 บาท/ต่อ

- การเดินชมควรมีความสำรวม ไม่ทำการใดๆที่เป็นการลบหลู่ เนื่องจากอาจจะมีญาติของผู้เสียชีวิตมาไว้อาลัย

- ช่องเขาขาด หรือ ช่องไฟนรก เป็นส่วนหนึ่งของเส้นทางรถไฟสายไทย-พม่า (ทางรถไฟสายมรณะ) ที่เป็นจุดที่มีความโหดร้ายมากที่สุด

ภาพจาก CR : FB Janniefour Ch

   ค่าเช้าชม : ฟรี (ต้องแลกบัตรก่อนเข้า)

   เปิดเข้าชม : 09.00 น. - 16.00 น. หยุดวันสงกรานต์ หยุดวันคริสต์มาส หยุดวันปีใหม่ หยุดวันที่ 5 ธันวาคม สอบถามเพิ่มเติมโทร 034 919 605

   สิ่งอำนวยความสะดวก : ที่จอดรถ, ห้องน้ำ, ป้ายในความรู้, เจ้าหน้าที่คอยดูแลและให้ความรู้, จุดบริการนักท่องเที่ยว อื่นๆ

   กิจกรรมท่องเที่ยว : ศึกษาความเป็นมาทางประวัติศาสตร์ของสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่เกิดขึ้นระหว่างการสร้างทางรถไฟสายไทย - ภายในพิพิธภัณฑ์ฯ และเส้นทางช่องเขาขาด

   ที่เที่ยวใกล้เคียง : ถ้ำละว้า 10 กม., น้ำตกไทรโยคใหญ่ 14.79 กม., น้ำตกไทรโยคน้อย 17.92 กม., แม่น้ำแคว 19.32 กม.,

ภาพจาก CR : FB Janniefour Ch

   ที่อยู่ : กองการเกษตรและสหกรณ์กองกำลังทหารพัฒนา ต.ท่าเสา อ.ไทรโยค จ.กาญจนบุรี 71150

   การเดินทาง

   รถส่วนตัว

- ใช้ทางหลวงสายกรุงเทพ ฯ - กาญจนบุรี จากตัวเมืองใช้ทางหลวงหมายเลข 323 สายกาญจนบุรี – ทองผาภูมิ ขับผ่านน้ำตกไทรโยคน้อยไปประมาณ20 กิโลเมตร จะมีป้ายบอกทางเข้าพิพิธภัณฑ์ฯ อยู่ทางซ้ายมือ

   รถโดยสารประจำทาง

- จากสถานีขนส่งสายใต้ ลงที่สถานีขนส่งกาญจนบุรี และต่อรถประจำทางสายกาญจนบุรี - ทองผาภูมิ ลงที่กองการเกษตรและสหกรณ์ และเดินต่อเข้าไปพิพิธภัณฑ์ฯ และช่องเขาข้างจะอยู่ด้านหลังพิพิธภัณฑ์ฯ

   รถไฟ

- จากสถานีบางกอกน้อย ( ธนบุรี ) มาลงที่สถานีน้ำตกไทรโยคน้อย  และเหมารถสองแถวไปลงที่กองการเกษตรและสหกรณ์ และเดินต่อเข้าไปพิพิธภัณฑ์ฯ 

   รถตู้

- จากหมอชิด นั่งรถตู็สายกาญจนบุรี ราคา 120 บาท และต่อรถเมล์สายกาญจนบุรี – ทองผาภูมิ – สังขละ ราคา 40 บาท  ลงที่กองการเกษตรและสหกรณ์ และเดินต่อเข้าไปก็จะถึงช่องเขาขาด

ภาพจาก CR : FB Janniefour Ch

   ที่พักใกล้ช่องเขาขาด

- โฮมพุเตย ริเวอร์แคว ฮอตสปริง แอนด์ เนเจอร์ รีสอร์ต ห่าง 3 กม. ราคา 1,656 - 5,150 บาท/คืน

   ที่พักใกล้ น้ำตกไทรโยคน้อย
ญาญี โฮมสเตย์ (Yayei Homestay) ห่าง 700 ม. ราคา 382-1,000 บาท/คืน
ปลายฝน แอนด์ ต้นหนาว เฮาส์ ห่าง 770 ม. ราคา 400-1,000 บาท/คืน
Chokchai Hotel ห่าง 1 กม. ราคา 285-357 บาท/คืน

   ที่พักของอุทยานไทรโยค
- โซน 1 บ้านพักอยู่ชายป่าห่างจาน้ำตกประมาณ 1.5 กิโลเมตร มี 2 หลัง พักได้ 6 คน/หลัง ราคา 1,500 บาท/คืน/4คน
- โซน 2 อยู่ริมแม่น้ำแควน้อย พักได้ 4,6,7 คน/หลัง ราคา 800 - 2,100 บาท/คืน (ตามขนาดที่พัก)
- พื้นที่กางเต็นท์ มี2จุด คือตรงที่ทำการอุทยานฯ กับใกล้สะพานแขวน ราคา 30 บาท/คน/คืน (นำเต็นท์มาเอง)
- โทรจอง 0 2562 0760 หรือจองทางเว็ป nps.dnp.go. th
   แพพักเอกชนใกล้น้ำตกไทรโยคใหญ่
แพพักไทรโยค-แพสรีรัตน์ ราคา 3,000 - 4,000 บาท/คืน (ราคาตามขนาด)
แพพันทวี แบบเหมา 4,500 บาท/คืน แบบรายหัว 10ท่านชึ้นไป ราคา ผู้ใหญ่ 1,000 บาท เด็ก 6 - 10 ขวบ 500 บาท
แพชมดง ราคา 1,500 - 3,000 บาท/คืน (ราคาตามขนาด)
แพชมดาว ราคา 800 บาท/คืน/2คน
แพกิ่งไผ่ไทรโยค 500 - 1,500 บาท/คืน (ราคาตามขนาด)
ไทรโยควิว รีสอร์ท ราคา 1,700 - 3,600 บาท/คืน (ราคาตามขนาด)
แพปฐมพร กาญจนบุรี ราคา 1,000 - 1,400 บาท/คืน ราคาตามขนาด 2 - 3 คน/ห้อง
แพวนาลี ไทรโยคใหญ่ ราคา 1,500 - 2,000 บาท/คืน ราคาตามขนาด
แพหญิง ไทรโยคใหญ่ ราคา 1,500 - 2,000 บาท/คืน (ราคาตามขนาด)
   ที่พักใกล้อุทยานไทรโยค
ไทรโยคใหญ่ คอฟฟี แอนด์ รูม (saiyokyaicoffee&room) ห่าง 730 ม. ราคา 672 - 834 บาท/คืน


   ข้อมูลจาก : กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา , พิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย, การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.), โพสต์ทูเดย์

You May Also Like

0 Comments